4 วิธีทำคุณ Fast Promote
ทำยังไง? ถึงจะได้ fast promote ผมเองก็อาจเรียกได้ว่าโชคดี จังหวะที่ดีทุกครั้งที่มีเกี่ยวกับเรื่องของการโปรโมท จะได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในแคนดิเดต เราเป็นคนที่ได้รับโปรโมทเร็วกว่าคนอื่นเขาประมาณหนึ่ง ก็ไม่ได้เร็วมากขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้เป็นผู้จัดการตั้งแต่ตอนอายุ 33 นะครับ โดยที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทผมอายุประมาณ 35-36 ปีนะ ถือว่าเร็วกว่าประมาณ 2-3 ปีนะครับ
ทีนี้ผมจะเอาประสบการณ์ตัวเองมาเล่าให้ฟังด้วย เราก็ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ชื่อว่า www.forbes.com/sites/work-in-progress หัวข้อ Theme คือ Do This Today and Get Promoted Faster ก็คือ “ทำสิ่งนี้ในวันนี้แล้วจะโปรโมทได้เร็วมากขึ้น” โดยมี 4 ข้อหลัก ซึ่งผมจะเติมมุมมองของผมเข้าไปด้วย Forbes เนี่ยแน่นอนแล้ว เขียนด้วยฝรั่ง คือเป็นคนฝั่งตะวันตก แต่ว่าการโปรโมทในบริษัทญี่ปุ่นอาจจะมีมุมมองที่อาจจะไม่ได้เหมือนสักทีเดียว หลักการมันได้ แต่วิธีการอาจจะต้องปรับให้เข้า อยากจะขอเติมมุมมองว่าถ้าเราอยากจะ Fast promote ในบริษัทญี่ปุ่น จะต้องทำยังไงเป็นพิเศษ
1. Start hanging around the right people (พาตัวเองไปอยู่กับคนที่ใช่หรือว่าโอเค)
ผมจะยกตัวอย่างที่จับต้องได้แล้วก็ดู Powerful คือ อาจารย์บัณฑิต อึ้งรังษี เป็นบุคคลที่เรียกว่าเป็นคนไทยไม่กี่คนในโลกที่สามารถไปคุมวง เป็นวาทยกร แล้วประสบความสำเร็จระดับโลก เกี่ยวกับเรื่องของอาชีพดนตรีคลาสสิก
ตอนแรกอาจารย์บัณฑิตบอกว่าเขาไม่มีต้นทุนความฝันเลย คนรอบข้าง ไม่มีใครเป็นแบบอย่างที่ดีได้เลย ที่จะพาเขาไปตรงนั้นได้ คือไม่ใช่คนรอบข้างเขาไม่เก่งนะ เพียงแต่ว่าความฝันที่อาจารย์บัณฑิตมี คนไทยในตอนนั้น ยังไม่มีนะครับ
อาจารย์ก็เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นจะต้องพาตัวเองไปอยู่กับคนที่เขาเป็นระดับโลกอยู่ เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีคิด วิธีทำ เพื่อที่จะได้รู้ว่าจะต้องทำตัวแบบไหนถึงจะได้เป็นวาทยกรระดับโลก อาจารย์ก็ดั้นด้นไปหา แล้วก็ได้ไปเจอกับคุณ Marshall แล้วก็ได้วิธีคิดแบบนี้ วิธีการทำแบบนี้
และสิ่งที่อาจารย์บัณฑิตทำง่ายมากก็คือทำตามวิธีคิดนั้นโดยปรับให้เข้ากับรูปแบบของตัวเอง ภายในเวลาไม่นาน อาจารย์บัณฑิตก็สามารถคุมวงดนตรีระดับโลก ได้ขึ้นหน้าปกนิตยสารชั้นนำของประเทศ สิ่งที่เชื่อมโยงกับการที่พบใน Fast promote
ตอนนั้นผมพาตัวเองออกจากพื้นที่ทำงานปกติ ไปอยู่ในวงของวิทยากร ไปทำกิจกรรมที่มีโอกาสได้เจอกับคนเก่ง ๆ จากแผนกอื่น ๆ แผนกของผมมีประมาณ 50 คน แต่ว่าจะมีคนที่เก่ง ๆ อยู่ในบริษัท บริษัทผมมีอยู่ประมาณ 2,000 กว่าคน แต่จะมีกิจกรรมบางอย่างที่บริษัทเป็นเจ้าภาพนะ แต่เป็นงานเสริม คือหมายถึงเป็น event พิเศษ
อย่างเช่น การจัดกิจกรรมเพื่อจะรับพนักงานเข้ามา ชื่อว่า Open House กิจกรรมพวกนี้ผมได้พาตัวเองเป็นวิทยากรอบรม จะได้เจอคนเก่ง ๆ จากหลากหลายสาขาวิชาชีพ แผนกจัดซื้อเนี่ย ก็จะได้เจอกับเซนเซเล็ก พาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ ๆ เจอคนใหม่ ๆ คนที่เก่ง ๆ เราก็ได้เรียนรู้จากเขา
ผมคิดว่าเป็นจุดเปลี่ยนของผม ผมพยายามสังเกตว่าพี่คนที่ผมนับถือแล้วก็ Fast Promote เหมือนกัน เขาอายุงานมากกว่า แล้วก็ Fast Promote เร็วกว่าผมนะ ก็ตาม Generation นั่นแหละ เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่เป็นวิทยากรกับทุกคน ผมก็สงสัยว่างานวิทยากรมันมีดีอะไร ทำให้คนสามารถที่จะโปรโมทได้
ผมก็เลยพาตัวเอง เสนอตัวไปนะครับ ซึ่งจริง ๆ ตอนแรกก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่เป็นแคนดิเดต แต่ว่าไปเสนอตัวว่าอยากเป็นเพราะอยากเป็น ก็ไปเรียนรู้ เราก็ได้เรียนรู้ว่าคนที่เป็นผู้จัดการได้ หน้าที่ของเขามี 2 อย่าง บริหารงานให้ได้ผลลัพธ์ ใช้คำว่า บริหารงานน้อง ไม่ใช้คำว่า ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ เพราะว่าส่วนใหญ่ผู้จัดการไม่ได้เป็นคนทำงานเอง แต่จะเป็นคนจัดการเพื่อให้ได้งาน
เพราะฉะนั้นจะบริหารงานได้ หนึ่งในทักษะที่ต้องมีคือต้องสื่อสารแล้วก็ถ่ายทอดความรู้ให้กับน้อง ให้เขาทำและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทำน้อยได้มาก เพราะฉะนั้นเคล็ดลับของการเป็นผู้จัดการ เราอยาก Fast Promote มากเท่าไหร่ ตำแหน่งยิ่งสูงมากเท่าไหร่ สิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ได้คือถ่ายทอดงาน
เรื่องที่ 2 คือเรื่องที่ผมได้เรียนรู้ผ่านประธานบริษัท ผมเคยเขียนบทความเอาไว้ในเว็บไซต์ Leanovative Thinking คิดอย่างประธาน Toyota ทุกท่านจะมีวิธีในการเล่าเรื่อง Inspire ทุกคนนะครับ นี่คือการเรียนรู้ที่จะพาตัวเองไปอยู่ใกล้ ๆ คนที่สำเร็จ
นั่นหมายความว่าเขาจะเป็นคนที่พูดคุยกับเราได้จริง ๆ หรือถ้าเราบอกว่ารอบ ๆ ตัวเราไม่มีคนที่พอใช้ได้หรือมองหาเป็นไอดอลหรือว่าเป็นคนที่ใช่จริง ๆ เลยในสิ่งที่เราอยากเป็นนะ ต้องย้ำตรงนี้ก่อน เราก็ลองหาดูว่าใน YouTube ในหนังสือ ชีวประวัติออนไลน์ มีคนแบบนี้อยู่หรือเปล่านะครับ แล้วเราก็เอาเวลาของเราไปอยู่ใกล้ ๆ กับพวกเขา นี่ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้เราได้โปรโมทเร็วขึ้น
2. “Make your intention known” (เล่าความตั้งใจและแรงบันดาลใจของคุณให้คนอื่น ๆ รู้)
แสดงชัด ๆ เลยว่าฉันจะเป็นผู้บริหาร ฉันจะเป็นผู้จัดการ ฉันอยากจะ Fast promote บอกให้คนอื่นได้รู้ บอกหัวหน้า บอกเพื่อนร่วมงาน บอกเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลให้เขาได้รู้ความตั้งใจของเรา ผมเห็นด้วยในหลักการ แต่ถ้าเกิดใครอยู่ในบริษัทฝรั่ง ผมว่าใช้ได้ พูดไปเลย อยากเป็น อยากทำ ส่งงานมาเลย เดี๋ยวจะพิสูจน์ให้ดู
อาจจะทำได้ในสไตล์ของบริษัทสายตะวันตก เพราะว่าเขาไม่ได้มีเรื่องของ humble ทุกคนเคารพความคิดซึ่งกันและกัน ไม่มีวัฒนธรรมเรื่องของการเกรงใจ อ่อนน้อมถ่อมตนมากนัก แต่ไม่ได้บอกว่าผิดนะ แต่ถ้าเกิดเป็นบริษัทไทยหรือบริษัทญี่ปุ่น มันจะมีแรงต้านนิด ๆ หรือจะมีชุดความเชื่อบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ยไปบอกชาวบ้าน ไปบอกหัวหน้า ผมอยากเป็นผู้จัดการครับ หัวหน้าครับ ผมอยากเป็นผู้อำนวยการครับ
มันไม่มีบริบทหรือมันไม่มีวัฒนธรมรองรับว่าเฮ้ย พูดอย่างนี้ได้ด้วยเหรอ หลาย ๆ คนถ้าแสดงออกมากไป กลายเป็นดูไม่ดีอีกก็มี บ้านเรามีสุภาษิตว่าอย่าพยายามทำตัวเด่น อย่าโดดเด่น จะเป็นภัย และความเชื่อที่มันไม่ support วิธีการนำเสนอแบบนี้อยู่
แต่ทำไมผมถึงเห็นด้วย ผมคิดว่าวิธีคิดสำคัญ แต่ว่าไม่สำคัญเท่ากับวิธีที่เราจะบอกเล่าหรือวิธีการแสดงออก แล้ววิธีที่ดีที่สุดในแบบที่เราจะใช้ได้ในบริษัทไทยหรือบริษัทญี่ปุ่นคือแสดงออกผ่านผลงานและความตั้งใจของเรานั่นเอง มาให้เช้า ทำงานให้เข้มข้น แล้วก็อยู่ให้ดึก
หรือใช้เวลากับการทำงาน ทำเสร็จแล้วลองหาว่าเราสร้างคุณค่าอะไรได้อีก ใส่ใจกับเรื่องการทำงานให้มากที่สุด ลอง Challenge นะ ของานจากหัวหน้า ของานตรงนี้มาทำได้ไหม อยากเรียนรู้ มันจะมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พูดโดยไม่ต้องพูด ให้ผลงานมันพูดหรือให้พฤติกรรมการแสดงออกของเรามันเป็นตัวบอก โดยที่เราไม่ต้องพูดออกมาตรง ๆ ก็ได้ว่าฉันอยากจะเป็นผู้จัดการ แค่คุณทำอะไรบางอย่าง คนก็จะรู้ Intention ของคุณแล้ว
ในหัวข้อ make your intention known หลักการของมันก็คือทำให้คนรับทราบว่าคุณอยากจะเป็นใคร เป็นอะไร แล้วก็ถ้าให้ดี ภายในเวลาเท่าไหร่ก็ได้ แล้วใช้ผลงานพิสูจน์ หรือบางคนอาจจะใช้พื้นที่ที่มันพอที่จะสะดวกเปิดเผยได้ ยกตัวอย่างเช่นการทำ evaluation ประจำปีครับ
ผมตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปี 4 ปี ผมอยากจะเป็นคนแบบนี้ หัวหน้าจะได้รู้ว่าเราอยากจะไปตรงไหน แล้วที่บริษัทคาดหวัง Gap มันตรงกันไหม เดี๋ยวนี้ก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า IDP Individual Development Program พื้นที่พวกนี้มันถูก Set up เอาไว้ให้สำหรับการพูดคุยธุระ แล้วก็ใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ แต่ว่าในพื้นที่เปิดที่มีคนเยอะ ๆ นะ ที่เราไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เราพูดออกไปมันจะเป็นผลบวกหรือผลลบ เราก็ระมัดระวังตัวนิดหนึ่ง แล้วก็ใช้ผลงานในการแสดงออก น่าจะเป็นคำตอบที่ดี
3. Get clarity around what’s required to be promoted (รู้ให้แน่ชัดว่าอะไรคือเงื่อนไขสำคัญของการได้รับการโปรโมท)
ถ้าเรารู้ไม่ชัด เป้าไม่ชัด สิ่งที่เราจะทำก็ไม่ชัด ถ้าเปรียบเปรยกับการเล่นเกม เมื่อมีด่าน ต้องมีเงื่อนไขอะไรอย่างหนึ่ง ถ้าเก็บข้อมูลไม่ครบ เราจะหาวนไปวนมา จะเก็บข้อมูล information ได้ เราต้องรู้ตั้งแต่แรกเลย เหมือนเราซื้อบทสรุปมา บทสรุปมันบอกเลยว่าจะผ่านด่านนี้คือหนึ่ง คุณต้องมีนี่ และสอง คุณต้องมีนี่ ที่เหลือคุณแค่ลงมือทำตามสิ่งที่มันกำหนด
Get clarity around what’s required to be promoted คือ การทำให้มันชัดเจน หรือว่าจะโปรโมทได้ มันมีเงื่อนไขอะไรบ้าง มันมีหลายรูปแบบ ทั้งที่เราควบคุมได้ ทั้งที่เราควบคุมไม่ได้ เราต้องทำยังไงกับมันบ้าง สิ่งที่เราบอกว่าเราต้องรู้นั้นมีอะไรบ้าง
จากประสบการณ์ของผมแล้วกันนะ หนึ่งก็คือเรา make sure ได้หรือยังว่า Job Description หรือว่าภาระหน้าที่งานของตำแหน่งนั้น ๆ ที่เราอยากจะโปรโมท มันเป็นแบบไหน ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ ๆ เขาจะมีชัดเจนเลยว่าเกรดมี level นี้ เขาต้องการคนที่มีคุณสมบัติแบบใดบ้าง
มันอาจจะไม่ได้เขียนชัดเจนมากว่าจะต้องคิดเลขได้แม่นยำ error ไม่เกิน 5% ทุกครั้งที่คำนวณมันไม่ได้เขียนขนาดนั้น แต่มันจะบอกเป็นคุณสมบัติคร่าว ๆ ว่าคุณจะต้องมีความสามารถในการนำผู้คน คุณต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนได้ แล้วก็แก้ไม่ให้ปัญหามันเกิดซ้ำได้
ผมเชื่อว่าถ้าเป็นองค์กรใหญ่ ๆ จะมีพวกนี้อยู่นะครับ ลอง search ใน Intranet ของ HR ดูก็ได้ หรือว่าเรา search ในเว็บไซต์ของบริษัทหรืออะไรก็ได้ถ้ามันไม่มีจริง ๆ นะครับ ผมเชื่อว่าลองถาม HR ถ้ามันไม่มีจริง ๆ ลองถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลนะครับ แต่ว่าไม่อยากให้หยุดแค่เท่านั้นนะครับ
ความหมายคืออะไร ถ้าเราอยากจะโปรโมท ส่วนใหญ่เราจะต้องเป็นคนที่ Beyond กว่า criteria หมายความว่า สมมุติว่าอยู่ระดับที่ 6 จาก 13 Level แล้วกัน แล้วเราอยากจะ Fast promote ระดับ 7 แน่นอนว่าเราต้องมีคุณสมบัติที่เป็นระดับ 7 ถูกต้องไหมครับ แต่เรามีอะไรบางอย่างที่มันเพิ่มเติมจากตรงนั้นเข้าไป
อะไรเป็นจุดที่ทำให้คนสนใจเราว่าเด็กคนนี้ นอกจากที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว เขายังมีบางอย่างที่โดดเด่นกว่าคุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าเรารู้ เราทำตัวให้เป็นคุณสมบัติแบบนั้นมากขึ้น เราก็จะมีโอกาสโปรโมทมากกว่าคนอื่น เร็วกว่าคนอื่นนั่นเอง
อันที่ 2 คือคุณสมบัติพื้นฐาน คุณสมบัติภาคบังคับว่าถ้าคุณจะโปรโมทได้ เหมือนเรียนหนังสือ ถ้าแคลคูลัสถามได้ คุณจะต้องผ่าน 2 ก่อน แล้วก็ต้องผ่านแคลคูลัส 1 ก่อน นึกออกใช่ไหมครับ มีลำดับขั้นตอนของมัน บางทีบริษัทเขาไม่ได้บอกว่าทำไมเราถึงไม่ได้โปรโมท
แต่ถ้าเราไปเช็คดี ๆ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะไม่ผ่านการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ถ้าเกิดคุณเป็นผู้ช่วยผู้จัดการได้เนี่ย เงื่อนไขหนึ่งก็คือคุณจะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ TOEFL มากกว่า 650 ขึ้นไปเป็นต้น ถ้าจะได้รับการยกเว้น จะต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง แล้วเราผ่านเกณฑ์ตรงนั้นไหมเป็นต้น
หรือถ้าคุณจะสอบผ่าน คุณจะต้องไปอบรมหลักสูตรนี้มาก่อน ซึ่งเป็นหลักสูตรภาคบังคับ แล้วคุณเอาตัวนี้มายื่นเป็นต้น เราต้องเคลียร์ให้เรียบร้อย หรือบางทีอันที่เขามักจะไม่ได้บอก ก็คือว่าเราโปรโมทอายุงานในตำแหน่งนาน ๆ ของเราไม่เพียงพอ
หรือว่าบางครั้ง หัวหน้าองค์กรใหญ่มาก ๆ เขาจะบอกว่า ถ้าเกิดคุณจะขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงกว่าเดิม ดูแลจากคนระดับ 10 คนไปเป็น 50 คน คุณจำเป็นจะต้องมีการโยกย้ายงานไปอยู่ฟังก์ชันหน่วยงานอื่นก่อน อยู่ ๆ จับย้ายตำแหน่งงาน บางทีเขามาถามเราว่าคุณย้ายได้ไหม เราบอกไม่ไปครับ ไม่ชอบ ไม่ไป ถ้าไปผมออก
เหมือนเราตัดสิทธิ์ตัวเองที่จะรับการโปรโมท เพราะว่าบางทีผู้จัดการของคุณก็พูดตรง ๆ ย้ายตำแหน่งไปเพื่อที่จะให้คุณได้แคนดิเดตที่จะได้โปรโมทนะ บางคนเขาก็พูด แต่บางคนเขาก็ไม่พูดนะครับ เพราะเขาถือว่าเขาทำตามหน้าที่แล้ว บางทีเราก็ต้องเช็คลึก ๆ เหมือนกัน
ถามว่ารู้ได้ยังไง บางทีเราลองถามดูนะ ว่าการย้ายตำแหน่งงานมันจะมีผลอะไรกับ Career path ของผมหรือเปล่า หรือถ้าเราไม่กล้าถามหัวหน้าตรง ๆ กลัวเสียมารยาท เราลองถาม HR ได้ไหม ผมคิดว่าหนึ่งในคุณสมบัติของคนที่โปรโมทเร็ว ๆ นี้นะ เขาจะไปสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับ HR ไว้นะครับ เพราะว่าไร
เวลาเราสงสัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลคือคนที่ตอบคำถามเราได้ดีที่สุด ตำแหน่งว่างก็มีผลเหมือนกันนะ ที่ผมบอกว่าควบคุมไม่ได้ คือบางทีคุณสมบัติเราครบหมดแล้วนะ เราได้คุณสมบัติตาม Job Description แล้ว เรามีความสามารถบางอย่างที่มันโดดเด่นกว่า Job Description ที่เขาต้องการด้วยซ้ำไป แล้วผ่านเงื่อนไขภาษาอังกฤษ ผ่านเงื่อนไขการสอบมาตรฐานทั้งหมดแล้ว แต่เราก็จะโปรโมทไม่ได้ ถ้าเกิดปีนี้ตำแหน่งว่างมันไม่เกิดขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่เราควบคุมไม่ได้ หรือไปเติบโตในด้านอื่นแทนก็จะเป็นทางเลือก
ถัดมา ไม่ได้เป็น Job Description ไม่ได้เป็นทั้ง Company criteria คือเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด แต่ส่วนใหญ่แล้ว บางทีมันไม่ได้เป็นเส้นตายตัวเป๊ะ ๆ ขนาดนั้นหรอกว่าคนนี้หรือคนนี้เหมือนกัน ใช่ไหมครับ แต่สุดท้ายแล้วเราต้องดูที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผมเรียกมันว่ากิจกรรม
เวลาที่ใครได้โปรโมท ผมก็จะกลับไปดูนะ พี่คนนี้ เขามี Career path เป็นยังไง เขาเริ่มต้นที่อายุงานเท่าไหร่ ทำงานประมาณไหนบ้าง ผลงานของเขาเป็นยังไง ผมก็จะไปดูเท่าที่ผมจะหาได้นะ เขาเป็นแบบไหน มีอะไรบ้างที่เราทำได้เหมือนเขา ยังทำได้น้อยกว่าเขา สิ่งที่เขาทำได้ เราทำไม่ได้ มีอะไรบ้าง
เราจะได้รู้ว่าถ้าเราจะโปรโมท เนื่องจากอย่างนี้ บางทีมันเหมือนกับว่าคะแนนขั้นต่ำคือ 80 เต็ม 100 แต่ปีนั้นแคนดิเตดทั้งหมดได้ 90 ทุกคนผ่านหมดเลยนะ แล้วก็ได้ 90 up หมดเลย แต่มีตำแหน่งว่างแค่ที่เดียวสำหรับปีนั้น เป็นต้น เราก็จะต้องดูว่าคนที่เขาได้ 90 เป็นเท่าไหร่
อย่างน้อยถ้าเกิดเราไม่โชคร้ายจนเกินไป แล้วผ่าน 80 และเราได้ 90 เต็ม 100 สำหรับคุณสมบัติที่วันหนึ่งที่เราเป็นแคนดิเดตใช่ไหมครับ อย่างน้อยคือผ่านมาตรฐานแล้ว ก็ได้เท่ากับพี่คนที่เคยประมูลได้ มันทำให้เรามีโอกาสมากกว่าไง
ถ้าเราบอกว่าคู่แข่งเราหรือเพื่อน ๆ ร่วมอุดมการณ์ที่อยากจะ Fast Promote เหมือนเราและเขาได้ 96 แล้วเราได้ 92 เราก็ยังแฮปปี้ว่าเขาทำดีกว่าจริง ๆ แต่เราเข้าใจว่าขั้นต่ำคือ 80 คนโปรโมทปีก่อนนู้นอ่ะก็ได้ 92 เรื่องสมมตินะ แล้วเราได้ 94 แต่เพื่อน 96 เว้ย อย่างน้อยฉันก็ทำดีที่สุดของฉันแล้วเป็นต้น เราจะทำใจได้
4. Make your accompaniment receivable (ทำความสำเร็จของคุณให้มันโดดเด่นเห็นชัด)
พูดง่าย ๆ คืออย่าปิดทองหลังพระ ปิดคือปิดหลังพระ ปิดเยอะจนมันล้นมาข้างหน้าให้ใคร ๆ เห็น ปิดทองหลังพระอยู่ครับ จะบอกว่าเป็น PR ก็ไม่เชิง เราทุกคนต้องขายอยู่แล้ว ผมพูดหลายรอบแล้ว ขายความสามารถ ขายความน่าเชื่อถือ รายได้จะมาจากการที่เราขายอะไรบางอย่าง แลกเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ทำให้คุณรู้สึกว่า เรามีคุณค่ามากพอที่จะได้รับสิ่งนั้น การ Fast Promote มันก็ต้องแลกกับการที่ทำให้คนรู้สึกว่าคน ๆ นี้คู่ควรกับการ Fast Promote
หากเป็นบริษัทญี่ปุ่นแน่ ๆ ถ้า PR อย่างเดียว ขายแต่ของ โฆษณาอย่างเดียว ของไม่ดีเลย สุดท้ายคุณก็จะไม่ยั่งยืน แต่ว่าคุณมีของดี คุณก็ต้องทำให้คนอื่นเห็น ทำรายงานให้ดีที่สุด ทำเอกสารทำงานของตัวเองให้มันดีที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ เป็นมืออาชีพ แล้วก็ดีพอจนถ้าไปในองค์กรใหญ่ ๆ หัวหน้าเขาอยากจะโปรโมทให้คุณน่ะ เอางานตัวนี้ไปนำเสนอให้กับหัวหน้าที่ระดับสูงกว่า
ส่วนใหญ่ในองค์กรใหญ่ ๆ คนที่เป็น Edition maker จริง อาจจะไม่ใช่คนที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดนะ คนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่เสนอว่าน้องคนนี้น่าจะขึ้นไปนะครับ เขาจะเสนอชื่อว่าอะไรที่ 3 คนนี้ น่าจะเหมาะสมที่สุด ถ้าเรียงลำดับ 1 2 3 และเป็นคนนี้ แต่คนที่เคาะว่า งั้นเอาคนนี้แล้วกัน 1 2 3 เมื่อฉันว่าเบอร์ 2 ดีกว่า ฉันลืมเบอร์ 1 กับ 3 ได้ไหม Final Edition มักจะเป็นคนที่ตำแหน่งสูงกว่า 1-2 ขั้นเป็นต้นไปนะครับ
ทีนี้มันมีผลอะไร โดยธรรมชาติแล้ว คนที่ตำแหน่งสูงกว่าเรา 2-3 ขั้น เขามักไม่ได้ทำงานร่วมกับเราทุกวัน โอกาสที่เราจะเจอมีไม่มาก แต่มันจะมีพื้นที่บางพื้นที่ ที่เราจะเข้าถึงเขาได้ แสดงวิธีคิดและศักยภาพของเราได้ ก็คือการที่หัวหน้าเราเอางานของเราไปนำเสนอ นึกออกใช่ไหมครับ
ผมว่าจะเล่าเรื่องหนึ่ง ผม Anti มากเลยเวลาหัวหน้ามาสั่งให้ผมทำงานเพิ่ม แป๊ะคุงช่วยสรุปงานอันนี้นำเสนอผู้บริหารหน่อยนะ เดี๋ยวท่านจะมาจากญี่ปุ่น มาให้คุณ 3 นาที ช่วยนำเสนองานหน่อย ผมก็มีงานใหม่ต้องทำ แต่เวลาหัวหน้าให้ทำเพิ่ม มันเท่ากับว่างานที่ต้องทำก็ยังต้องทำอยู่ แล้วก็ต้องทำงานเพิ่มอีก คือทำไมต้องเหนื่อยขนาดนี้ เด็ก ๆ ก็นึกอย่างนี้นะครับ
แต่เพิ่งมารู้อีกทีภายหลังว่ามันคือกระบวนการที่เรียกว่าโอกาสที่ดีมาก ๆ เลยที่เราจะได้เรียนรู้จากหัวหน้าของเรา หัวหน้าของหัวหน้าเรานะ เขาก็จะต้องดู Paper เรา แล้วก็ Comment ให้เรา เหมือนมีการสอนงานผ่านเราไปในตัว
กว่าที่เราจะมี report ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโตโยต้าได้ ที่เคยเล่าให้ฟังว่ามีพนักงานประมาณ 350,000 คน มี Top managing officer ประมาณ 30 คนครับ คนกลุ่มนี้ เรียกว่าไม่มีโอกาสได้คุยหรอกปกติแล้ว แต่เรามีโอกาส 3 นาที เมื่อก่อนคิดว่าเป็นภาระ พูดตรง ๆ นะครับ แต่ตอนนี้ผมคิดว่าดีมากเลยนะที่ได้โอกาสเหล่านั้น ถ้าเกิดมีหัวหน้ามาขอให้ทำแบบนี้ โดยเฉพาะใครที่กำลังทำงานบริษัทญี่ปุ่นจริง ๆ ผมว่าบริษัทอื่นเขาคงคล้าย ๆ กันได้แหละ ไม่ว่าจะไทยหรือฝรั่ง ให้คิดว่ามันเป็นโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีมาก ๆ นะครับ แล้วก็ทำให้ความสำเร็จของตัวเองมันโดดเด่นชัดให้ได้มากที่สุด
เรื่องหนึ่งที่จะฝากไว้เป็นเทคนิคก็คือ สุดท้ายแล้วผลงานที่เด่นชัดอีกอันหนึ่งคือเรื่องทักษะ indirect ยกตัวอย่างเช่น ทักษะทางด้านภาษา ปริญญา สุดท้ายแล้ว คุณจะเรียนอะไรก็ตาม อยากให้มันเป็นมาตรฐาน Global ใช้อ้างอิงได้ คุณผ่าน TOEIC เท่านี้ ผ่าน TOFEL เท่านี้ ทำให้ความน่าเชื่อถือสูงขึ้น
ทักษะอาจจะไม่ได้แตกต่างกัน หลายคนเลยมี Anti สำหรับบางคน ทำไมมันไม่ดูกันที่ผลลัพธ์ บางทีมันไม่ได้บอกชัดเจนสักทีเดียว เวลาเข้าไปขายงาน เข้าไปนำเสนอ เราพูดลอย ๆ สมมติถ้าผมเป็นหัวหน้า 2 คน ผมรู้ว่าคนนี้เท่ากัน แล้วเขาต้องเลือกทั้งที มันมีผลเหมือนกันนะว่าน้องคนนี้พูดภาษาญี่ปุ่นเก่งมาก ๆ เลยแล้วก็ผ่านเลเวล N1 N2 แล้วก็เก่งเหมือนกันนะครับ แต่เขาไม่ได้ไปสอบ มันเท่ากันน่ะ ทุกอย่างมันเหมือนกันหมดเลย บางทีมันก็จะเหลือแค่นี้
เราอยากจะให้ผลงานของเรามันดีมาก ๆ จับต้องได้ ทำให้ดีที่สุดก็พอนะครับ เราต้องเพิ่มเติม เอาให้มั่นใจว่าเราได้ Fast Promote แน่ ๆ จะต้องมี Certify บางตัวเป็นเครื่อง ทำให้คนเขารู้สึกเชื่อมั่นกับเรามากยิ่งขึ้น สุดท้ายมันคือการ Fast Promote คือการที่ใครสักคนหนึ่งตัดสินให้เราโปรโมท เราไม่ได้ควบคุมได้ บางอย่างเราควบคุมได้ ใช่ไหมครับ แต่สุดท้ายแล้วการตัดสินคือหัวหน้าของเราเลือกใครบางคน เราก็ต้องทำให้เขาเชื่อมั่นในตัวเรามากที่สุดนะครับ
ทบทวนกันอีกครั้งนะครับ
- Start hanging around the right people พาตัวเองไปอยู่กับคนที่ใช่หรือว่าโอเค
- Make your intention known เล่าความตั้งใจและแรงบันดาลใจของคุณให้คนอื่น ๆ รู้
- Get clarity around what’s required to be promoted รู้ให้แน่ชัดว่าอะไรคือเงื่อนไขสำคัญของการได้รับการโปรโมท
- Make your Accompaniment receivable ทำความสำเร็จของคุณให้มันโดดเด่นเห็นชัด