5 วิธีจดโน้ตให้ปังที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแนะนำ

เชื่อหรือไม่ครับว่าเพียงแค่เราจดโน้ตได้ดี เราก็อาจจะเป็นคนที่ทำงานได้ดีกว่าคนอีกหลาย ๆ คนแล้ว มาพบกับ 5 วิธีจดโน้ตที่ Oxford แนะนำกันครับ

ก่อนจะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา เราน่าจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมเราต้องจดโน้ตได้ดี และถ้าจดดีเราจะได้ประโยชน์อะไร การจดโน้ตที่มีประสิทธิภาพนั้นจะช่วยให้เราจดจำ เชื่อมโยง เข้าใจและถ่ายทอดหรือสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ประหยัดเวลาในการรื้อฟื้นข้อมูล แถมบางทียังสามารถถ่ายเอกสารมาใช้เป็นเครื่องสื่อสารได้ทันที
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยประหยัดเวลาทำงานให้เราได้อีกมาก นอกจากนี้การจดบันทึกที่ดียังต้องผ่านกระบวนการการคิดและตกผลึกที่ดีพอ จึงหมายความว่าเราสามารถฝึกสมองให้เฉียบแหลมยิ่งขึ้นผ่านการจดโน้ตนั่นเอง

1. Cornell Method
วิธีจดแบบนี้เป็นแบบที่บริษัทที่ปรึกษาอย่างแมคคินซีย์หรือนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยดังในญี่ปุ่นใช้
แบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 จดเนื้อหา
ส่วนที่ 2 ย่อยสิ่งที่จดมาอีกที
ส่วนที่ 3 สรุปประเด็นสำคัญ
ช่วยให้สรุปประเด็นเอาไปเล่าต่อได้ง่าย

2. Mapping method
เป็นวิธีการจดที่เหมาะสมกับคนที่เรียนรู้ผ่านการเห็นเป็นภาพมากกว่าตัวอักษร ใช้ Flow chart ในการช่วยอธิบายรายละเอียดของเนื้อหา เน้นเรื่องที่มีกระบวนการ กรอบเวลา ขั้นตอน ความสัมพันธ์ ช่วยให้เห็นประเด็นสำคัญ ๆ และความเชื่อมโยงต่าง ๆ ได้ง่าย

3. Outlining method
เป็นวิธีการจัดระเบียบตัวอักษรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ง่ายต่อการสรุปประเด็น ท่องจำและเห็นลำดับความสำคัญของข้อมูล จดคล้าย ๆ สารบัญและการเขียนหนังสือ แบ่งพื้นที่เป็นหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย จดง่ายตามการเล่าของอาจารย์หรือเพื่อนร่วมงานได้เลย

4. Charting Method
เป็นระเบียบ จดบันทึกได้ง่าย อารมณ์คล้ายในห้องมีตู้ ในตู้มีลิ้นชัก ข้อมูลจะถูกจัดระเบียบในพื้นที่ ๆ กำหนดไว้และจะทำให้เราเห็นหมวดหมู่และความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละชุดได้ง่ายยิ่งขึ้น เหมาะกับการเปรียบเทียบเนื้อหา การบริหารจัดการข้อมูลปริมาณมาก ๆ ในพื้นที่จำกัด

5. Sentence method
เหมาะกับการจดบันทึกข้อมูลที่มีปริมาณมากและยังไม่สามารถย่อยหรือแตกประเด็นได้ในเวลาสั้น เน้นจดข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนประมวลผลอีกครั้ง
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเราสามารถใช้การจดแบบผสมผสานกันได้ ไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งจนเกินไป เช่นใช้ Cornell + Sentence method ในการบันทึกส่วนที่ 1 ใช้ Mapping & Charting method ในการบันทึกส่วนที่ 2
6. เทคนิคผสมผสาน


อันนี้เป็นตัวอย่างงานที่ใช้จดตอนประชุมกับลูกค้าครับ ตีกรอบไว้ก่อน ลูกค้าพูดอะไรก็จับใส่ช่องต่าง ๆ พอหาข้อสรุปร่วมกัน ใส่ช่อง 4 Summary ยืนยันกับเขาสักนิด

