Provident Fund ทำให้เรา มีเงินหลังเกษียณเท่าไหร่ ?
เสาร์ที่ผ่านมาสองสามีภรรยา
วัย 40 คู่หนึ่งมานั่งฟังสัมมนา
Lifelong Rich การกุศลของผม
ทั้งคู่เป็นรุ่นน้องที่บริษัทเก่า
อันขึ้นชื่อเรื่องเงินเดือนดีมาก
และสวัสดิการสุดมั่นคง
ทั้งคู่เล่าให้ฟังว่าทุกวันนี้
ไปบริษัทเหมือนไปโรงยิม
แล้วขึ้นลู่วิ่ง
คือถึงออฟฟิศปุ๊บก็ขึ้นลู่
วิ่งหน้าตั้ง ทำแต่งาน
ไม่มีเวลาหายใจหรือพัก
เล่นมือถือเลยระหว่างวัน
แค่ทำงานก็หมดแรง
ไม่มีพลังเหลือพอจะ
ไปสนใจหางานนอกเวลา
หรือลงทุนหุ้นแล้ว
ผมเลยบอกไปว่าไม่ต้องกังวล
เพราะรู้ว่าทั้งสองคนเงินเดือนสูง
รวมกันน่ารายได้จะทะลุ
300,000-400,000 บาท/เดือน
แถมไม่มีลูก
ถ้าตั้งใจทำงานดูแลสุขภาพดี ๆ
อยู่จนเกษียณตอนอายุ 55 ได้
พวกเขาจะมีโอกาสได้เงิน
Provident Fund หลายสิบล้าน !!!
ตอนแรกทั้งคู่ไม่เชื่อผม
เลยต้องคำนวณตัวเลข
ประมาณการคร่าว ๆ ให้ดู
คุณที่อ่านอยู่ก็คำนวณได้เหมือนกันครับ
ไม่ยากลองทำไปพร้อมกันได้
Step 1 หาประมาณการรายได้ตลอดชีวิตจากสูตร
————————-
จำนวนเดือนที่ทำงานประจำ x เงินเดือนเฉลี่ย
จำนวนเดือนที่ทำงานประจำคิดจาก
(อายุเกษียณ-อายุเริ่มทำงาน) x 12
ยกตัวอย่างสามีภรรยาคู่นี้อายุเท่ากันพอดี
เกษียณ 55 เริ่มทำงาน 22
ทั้งคู่จึงมีจำนวนเดือนที่จะทำงานประจำได้
(55-22) x 12 = 396 เดือน
เงินเดือนเฉลี่ยคิดจาก
(เงินเดือนเดือนแรก + เงินเดือนคาดการณ์เดือนสุดท้าย)/2
สมมติให้ทั้งคู่มี
- เงินเดือนเดือนแรก = 24,000 บาท/เดือน
- เงินเดือนคาดการณ์เดือนสุดท้าย = 200,000 บาท/เดือน
- เงินเดือนเฉลี่ย = (24,000+200,000)/2 = 112,000 บาท/ต่อเดือน
รายได้ประมาณการตลอดชีวิต จากการทำงานประจำของทั้งคู่
=396 x 112,000 = 44,352,000 บาทต่อคน
(ไม่รวมโบนัสและสวัสดิการ)
Step 2 ประเมินเงินจาก Provident Fund จากสูตร
————————-
รายได้ประมาณการตลอดชีวิต x %สมทบรวม x 0.8
รายได้ประมาณการตลอดชีวิต ได้จาก Step 1 =44.352 ล้านบาท/คน
%สบทบรวม คิดจาก
%เงินออมสูงสุดจากเงินเดือน + %เงินออมสูงสุดจากบริษัท
บริษัทนี้คือ 15%+15% = 30% หรือ 0.3
(เยอะที่สุดแล้วมั้งที่ผมเคยเจอ)
0.8 มาจาก
1. ผลจากที่ตอนแรกไม่สามารถออมได้เต็มจำนวนแต่ค่อย ๆ เพิ่ม % ออมตามอายุงาน
เช่น 1-3 ปี ออมได้ 3%
4-7 ปีออมได้ 7% เป็นต้น
2. โอกาสขาดทุนจาก กองทุนที่เลือกออม เมื่อนำมาคิดคำนวณแล้วจะได้
44.532 ล้าน x 0.3 x 0.8 = 10.6 ล้านบาท/คน
ดั้งนั้นหากคู่นี้ทำงานจนเกษียณ
เงินที่ได้จาก Provident คร่าว ๆ
ก็น่าจะเกิน 20 ล้านบาท (ก่อนเสียภาษี)
ซึ่งถ้าไม่ได้ฟุ้งเฟ้อเกินไป
หลังเกษียณก็คงไม่ลำบาก
สิ่งที่ผมอยากบอก
1. Provident Fund เป็นเงินที่คุณ
จะยังไม่เห็นน้ำเห็นเนื้อจนกว่า
ปล่อยให้มันทำงานเกิน 10 ปี
อย่าใจร้อนรีบออกจากกองทุน
หรือรีบลด % การออม
2. ไม่มีอาชีพไหน(ที่ผมนึกออก)
นอกจากงานประจำที่มีสวัสดิการนี้
จริง ๆ แล้วอาชีพพนักงานประจำ
ไม่ได้แย่เลยถ้ารู้จักวางแผนการเงิน
3. หากจะย้ายงาน หรือสมัครงาน
อย่ามองแต่ฐานเงินเดือนอย่างเดียว
ให้พิจารณานโยบายการจ่าย
Provident Fund ที่เข้มแข็งด้วย
ถ้าฐานเงินเดือนเท่ากันบริษัทที่
นายจ้างสมทบ Provident Fund
สูงสุด 5% กับสมทบ 15% ก็เหมือน
ให้เงินเดือนต่างกัน 10% เลยทีเดียว
4. ถ้าได้เงินเดือนใกล้ ๆ กัน
บริษัทที่มีอายุเกษียณ 60 ปี
ย่อมดีกว่า 55 ปีในแง่โอกาส
หารายได้ไว้ใช้หลังเกษียณ
การรับเงินเดือนเพิ่มอีก 5 ปี
ก็ทำให้มีระยะเวลาใช้เงินโดยไม่มี
เงินเดือนน้อยลง 5 ปีเช่นกัน
แน่นอนทั้งหมดนี้เป็น
ความคิดของผมเท่านั้น
อาจจะไม่ถูกต้องก็เป็นได้
ยินดีแลกเปลี่ยนมุมมอง
ดี ๆ กับทุกท่านครับ
#LifelongRich
#นับจากนี้ไปต้องมีเงินใช้ตลอดชีวิต
#SenseiPae
#Saroophai
#spAcebook
ประชาสัมพันธ์ / งานบรรยาย Tel : 062-347-3884 Email : saroophaiofficial@gmail.com
วิธีสมัครคอร์สเรียนออนไลน์ Lifelong Rich
รายละเอียดคอร์สเรียน
💻คลิกลิงก์ https://www.senseipae.com/online-course-lifelong-rich/
ราคาค่าเรียน
💻 เรียนออนไลน์ผ่าน FB ปกติ ❌1,990.- ❌พิเศษ✅ 990.- ✅
สมัครผ่านไลน์ https://bit.ly/3J3lCYg
วิธีสั่งซื้อหนังสือ Lifelong Rich นับจากนี้ไปต้องมีเงินใช้ตลอดชีวิต
สำหรับท่านที่อยากวางแผนเกษียณแบบจริงจังด้วยวิธีสร้างกระแสเงินสด สร้าง passive income